การใช้ภาษาไทยที่บกพร่องของสังคมปัจจุบัน
ภาษาไทยเป็นทั้งวัฒนธรรม เอกลักษณ์ และความภูมิใจของคนไทย แต่ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยได้ไม่ดีพอ ไม่รู้ว่ามีสระ และวรรณยุกต์ของภาษาไทยกี่รูป กี่เสียง คนไทยจำนวนมากยังเขียนภาษาไทยผิด พูดผิด จับใจความผิด ฟังผิด อ่านผิด
และที่สำคัญคือ กลุ่มคนที่เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทยคือ กลุ่มวัยรุ่น ดารา นักแสดง นักร้อง นักการเมือง และสื่อมวลชน ที่ทำให้ภาษาไทยอยู่ในขั้นวิกฤติ มีการใช้ภาษาอย่างไม่เหมาะสม มีการใช้คำแสลงจนภาษาไทยเข้าขั้นวิบัติ เพราะอาจได้ยินได้ฟังจากสื่อที่ถ่ายทอดมาจากดารา นักแสดง หรือบุคคลสาธารณะ และยิ่งร้ายไปกว่านั้น พบว่ามีการพูดภาษาไทยคำภาษาอังกฤษคำ จนเกิดปัญหาการสื่อสารและเข้าใจความหมายของภาษาในทางที่ผิด
และที่สำคัญคือ กลุ่มคนที่เป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาในการใช้ภาษาไทยคือ กลุ่มวัยรุ่น ดารา นักแสดง นักร้อง นักการเมือง และสื่อมวลชน ที่ทำให้ภาษาไทยอยู่ในขั้นวิกฤติ มีการใช้ภาษาอย่างไม่เหมาะสม มีการใช้คำแสลงจนภาษาไทยเข้าขั้นวิบัติ เพราะอาจได้ยินได้ฟังจากสื่อที่ถ่ายทอดมาจากดารา นักแสดง หรือบุคคลสาธารณะ และยิ่งร้ายไปกว่านั้น พบว่ามีการพูดภาษาไทยคำภาษาอังกฤษคำ จนเกิดปัญหาการสื่อสารและเข้าใจความหมายของภาษาในทางที่ผิด
เนื่องจากภาษาสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามยุคตามสมัย จะเห็นว่าคนรุ่นใหม่ใช้ภาษาอย่างไม่ระมัดระวัง เพราะปัจจุบันสังคมอาจให้ความสำคัญกับภาษาไทยน้อยไป เห็นภาษาต่างประเทศสำคัญมากขึ้น ซึ่งก็ไม่อาจโทษใครได้
ถึงแม้ว่าพ่อแม่อยากจะให้ลูกเก่งภาษาต่างประเทศแต่ภาษาไทยก็ไม่ควรละทิ้ง หรือไม่สนใจการใช้ที่ถูกต้อง เพราะภาษาทุกภาษาย่อมมีหลักการใช้ที่เหมือนกันคือ ต้องใช้ให้ถูกกาลเทศะ สถานที่ ถูกบุคคล ต้องชัดเจนทั้งการออกเสียงและใช้ประโยค ถูกต้องตามความหมาย และบริบทของภาษา
นอกจากการเรียนรู้ภาษาไทยกลางและภาษาต่างประเทศแล้วภาษาถิ่นของไทยก็มีความสำคัญมากเช่นกัน ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา กระแสสังคมคนอาศัยในต่างจังหวัดจะสอนลูกให้พูดภาษากลางอย่างเดียว ไม่สอนภาษาถิ่น ทำให้ลูกพูดภาษาถิ่นไม่ได้ ทำให้เด็ก
ถึงแม้ว่าพ่อแม่อยากจะให้ลูกเก่งภาษาต่างประเทศแต่ภาษาไทยก็ไม่ควรละทิ้ง หรือไม่สนใจการใช้ที่ถูกต้อง เพราะภาษาทุกภาษาย่อมมีหลักการใช้ที่เหมือนกันคือ ต้องใช้ให้ถูกกาลเทศะ สถานที่ ถูกบุคคล ต้องชัดเจนทั้งการออกเสียงและใช้ประโยค ถูกต้องตามความหมาย และบริบทของภาษา
นอกจากการเรียนรู้ภาษาไทยกลางและภาษาต่างประเทศแล้วภาษาถิ่นของไทยก็มีความสำคัญมากเช่นกัน ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา กระแสสังคมคนอาศัยในต่างจังหวัดจะสอนลูกให้พูดภาษากลางอย่างเดียว ไม่สอนภาษาถิ่น ทำให้ลูกพูดภาษาถิ่นไม่ได้ ทำให้เด็ก
ขาดความรู้ในเรื่องนี้ และสังคมท้องถิ่นก็ขาดการสืบทอดสิ่งที่บรรพบุรุษถ่ายทอดกันมา ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เช่น ตำราที่ใช้คำท้องถิ่น ทั้งตำรับยา ชื่อต้นไม้ หรือพิธีกรรม เป็นต้น
“เมื่อเด็กรุ่นใหม่มาอ่านก็ไม่รู้ความหมาย มองเป็นสิ่งโบราณ ไม่มีค่า แต่หากมองอีกด้าน จะเห็นว่าสิ่งนี้คือภูมิปัญญาที่หาค่ามิได้ ไม่มีประเทศใดในโลกจะมี เป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์ไว้ และสืบทอดไปสู่คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าอย่างถูกต้อง”
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้เห็นกระทรวงวัฒนธรรมเริ่มให้ความสำคัญในเรื่องนี้ จึงคาดหวังว่าสถานการณ์ของภาษาถิ่นน่าจะดีขึ้น แต่อยากให้มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้เห็นหลายโรงเรียนในท้องถิ่น เริ่มหันมาฟื้นฟูอนุรักษ์กันแล้ว จึงฝากให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นความสำคัญเรื่องนี้ ช่วยกันอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติทางสังคมที่มีค่า เพราะภาษาถิ่นถือเป็นเสน่ห์ทางวัฒนธรรมของไทย
ทั้งนี้ เยาวชนรุ่นใหม่ควรรู้จริงใน 3 ภาษา คือ ภาษาไทยที่เป็นภาษากลางสำหรับติดต่อราชการ ภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต้องใช้ในการสื่อสารกับโลกภายนอก และภาษาท้องถิ่นที่เป็นเสน่ห์ของแต่ละภาค ที่สำคัญหลักการใช้ ต้องพูดให้ชัดเจน ไม่พูดภาษาไทยคำภาษาอังกฤษคำ หรือพูดภาษาท้องถิ่นแต่ใช้คำภาษากลางไปประกอบคำ ทำให้ภาษาผิดเพี้ยน
“อย่าอายที่จะพูด ขอให้ภูมิใจว่านี่คือวัฒนธรรมไทย ที่หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว เช่น ภาษาเหนือคำว่า โฮงยา หมายถึง โรงพยาบาล แต่คนรุ่นใหม่ อาจพูดว่า โฮงบาลแทน และขอให้พ่อแม่ ครู หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันดูแลเป็นแบบอย่างให้กับเยาวชนในเรื่องนี้”
“เมื่อเด็กรุ่นใหม่มาอ่านก็ไม่รู้ความหมาย มองเป็นสิ่งโบราณ ไม่มีค่า แต่หากมองอีกด้าน จะเห็นว่าสิ่งนี้คือภูมิปัญญาที่หาค่ามิได้ ไม่มีประเทศใดในโลกจะมี เป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์ไว้ และสืบทอดไปสู่คนรุ่นแล้วรุ่นเล่าอย่างถูกต้อง”
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันได้เห็นกระทรวงวัฒนธรรมเริ่มให้ความสำคัญในเรื่องนี้ จึงคาดหวังว่าสถานการณ์ของภาษาถิ่นน่าจะดีขึ้น แต่อยากให้มีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้เห็นหลายโรงเรียนในท้องถิ่น เริ่มหันมาฟื้นฟูอนุรักษ์กันแล้ว จึงฝากให้คนรุ่นใหม่ได้เห็นความสำคัญเรื่องนี้ ช่วยกันอนุรักษ์ไว้เป็นสมบัติทางสังคมที่มีค่า เพราะภาษาถิ่นถือเป็นเสน่ห์ทางวัฒนธรรมของไทย
ทั้งนี้ เยาวชนรุ่นใหม่ควรรู้จริงใน 3 ภาษา คือ ภาษาไทยที่เป็นภาษากลางสำหรับติดต่อราชการ ภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต้องใช้ในการสื่อสารกับโลกภายนอก และภาษาท้องถิ่นที่เป็นเสน่ห์ของแต่ละภาค ที่สำคัญหลักการใช้ ต้องพูดให้ชัดเจน ไม่พูดภาษาไทยคำภาษาอังกฤษคำ หรือพูดภาษาท้องถิ่นแต่ใช้คำภาษากลางไปประกอบคำ ทำให้ภาษาผิดเพี้ยน
“อย่าอายที่จะพูด ขอให้ภูมิใจว่านี่คือวัฒนธรรมไทย ที่หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว เช่น ภาษาเหนือคำว่า โฮงยา หมายถึง โรงพยาบาล แต่คนรุ่นใหม่ อาจพูดว่า โฮงบาลแทน และขอให้พ่อแม่ ครู หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยกันดูแลเป็นแบบอย่างให้กับเยาวชนในเรื่องนี้”
ในขณะเดียวกันก็มีการใช้ภาษาอย่างมักง่าย มีการตัดคำตามสะดวก และใช้คำผิดหน้าที่ ปัญหาการใช้ภาษาไทยเป็นปัญหาที่เกิดมานาน และเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ในแต่ละยุคแต่ละสมัย
ปัญหาการใช้ภาษาสื่อมวลชน
ปัญหาการใช้ภาษาสื่อมวลชน
1.ใช้ภาษาพูดปนกับภาษาเขียน ใช้คำผิดความหมาย ใช้คำซ้ำซ้อนเยิ่นเย้อ คำสับสน คำสแลงผิด ใช้คำย่อโดยไม่ถูกต้อง ใช้คำสมญานามที่ไม่เคยใช้มาก่อน ใช้คำหยาบคาย กำกวม หรือใช้คำภาษาต่างประเทศ ซึ่งสื่อมวลชนควรให้ความระวังและใช้ให้ถูก เพราะภาษาสื่อโดยเฉพาะในสื่อสิ่งพิมพ์ จะเป็นหลักฐานสำคัญที่คงอยู่นาน และแพร่หลายไปได้ไกล ซึ่งจะกลายเป็นแม่แบบและเป็นครูของสังคมโดยไม่รู้ตัว หากใช้ไม่ถูกต้องอาจทำให้เด็กรับรู้ในสิ่งที่ผิด จนไม่สามารถแก้ไขได้
“การเรียนภาษาไทยของคนไทย ต้องไม่มองว่าเป็นแค่เพียงวิชาหนึ่ง แต่เป็นการเรียนเพื่อสร้างคุณสมบัติความเป็นไทย จึงต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็กอนุบาล”
2.ปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยด้านปัจจัยภายนอกว่า สื่อมวลชน สื่ออินเตอร์เน็ต โรงเรียน ครอบครัว และบุคคลสาธารณะ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพล ส่งผลถึงการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน โดยผลวิจัยพบว่า ผู้นำ ผู้บริหาร นักการเมือง มีลักษณะการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารดังนี้ พูดภาษาต่างประเทศปนภาษาไทย หรือพูดคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศมาก คนทั่วไปไม่ทราบความหมาย ทำให้เข้าใจยาก ควรพูดกรณีไม่มีคำภาษาไทยใช้จริงๆ ใช้ภาษาไม่สุภาพ พูดวกวน พูดไม่ชัด และไม่สนใจใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง
"เด็กและเยาวชนอาจนำมาเป็นแบบอย่างได้ ผู้นำประเทศและนักการเมืองควรให้ความสำคัญในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ชัดเจน และคำนึงถึงมารยาทในการเลือกใช้คำให้เหมาะสม และสังคมควรช่วยกันเฝ้าระวัง และร่วมมือท้วงติงหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออินเตอร์เน็ต บุคคลสาธารณะ ที่ใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม"
สื่ออินเตอร์เน็ตมีการใช้ภาษาสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต หรือการส่งข้อความ มีการตัดทอนคำ สะกดคำผิด ใช้ภาษาผิดจากความหมายเดิม รวมถึงการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตค้นคว้าข้อมูล ทำให้ภาษาเขียนบกพร่อง เช่น คำศัพท์ การสะกดคำ การเขียนผิดไวยากรณ์ เมื่อเด็กวัยรุ่นใช้เป็นประจำทุกวัน ก็ติดเป็นนิสัย นำมาใช้เขียนในการบ้านหรือในรายงาน
“เป็นการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้อง จึงควรหาวิธีควบคุมการใช้ภาษาไทยในสื่ออินเตอร์เน็ต และจัดทำพจนานุกรมออนไลน์ให้เด็กและเยาวชนสืบค้นความหมายของคำและสำนวนภาษาไทยได้อย่างกว้างขวาง เพื่อส่งเสริมให้วัยรุ่นรู้จักใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และเหมาะสมตามกาลเทศะ เพราะเด็กจะนิยมใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่าเปิดหนังสือ”
ส่วนการอ่าน ฟัง พูด เขียน ภาษาไทยของเด็กในสังกัด สพฐ. พบว่า การใช้ภาษาไทยของเด็กเทียบได้กับผู้ป่วยขั้นโคม่า หรือแย่มากๆ และการแก้ปัญหาเด็กอ่อนภาษาไทย ที่หลายหน่วยงานกำลังพยายามทำอยู่ก็ยังไม่ตรงจุด เหมือนแก้ปัญหาแบบจับแพะชนแกะ โดยไม่ดูธรรมชาติของเด็กว่าต้องการเรียนรู้แบบไหน วิธีการอย่างไร ทั้งที่จริงๆ แล้วควรเริ่มฝึกให้เด็กอยากเรียนรู้และใฝ่รู้ โดยไม่มีการบังคับเด็ก ซึ่งอาจทำด้วยการให้เด็กอ่านหนังสือนอกเวลา หรือหนังสือเสริมบทเรียน เช่น นิทาน เรื่องสั้น บทความ ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก โดยมีครูคอยให้คำชี้แนะ
“การเรียนภาษาไทยของคนไทย ต้องไม่มองว่าเป็นแค่เพียงวิชาหนึ่ง แต่เป็นการเรียนเพื่อสร้างคุณสมบัติความเป็นไทย จึงต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็กอนุบาล”
2.ปัญหาการเรียนการสอนและการใช้ภาษาไทยด้านปัจจัยภายนอกว่า สื่อมวลชน สื่ออินเตอร์เน็ต โรงเรียน ครอบครัว และบุคคลสาธารณะ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพล ส่งผลถึงการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน โดยผลวิจัยพบว่า ผู้นำ ผู้บริหาร นักการเมือง มีลักษณะการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารดังนี้ พูดภาษาต่างประเทศปนภาษาไทย หรือพูดคำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศมาก คนทั่วไปไม่ทราบความหมาย ทำให้เข้าใจยาก ควรพูดกรณีไม่มีคำภาษาไทยใช้จริงๆ ใช้ภาษาไม่สุภาพ พูดวกวน พูดไม่ชัด และไม่สนใจใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง
"เด็กและเยาวชนอาจนำมาเป็นแบบอย่างได้ ผู้นำประเทศและนักการเมืองควรให้ความสำคัญในการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ชัดเจน และคำนึงถึงมารยาทในการเลือกใช้คำให้เหมาะสม และสังคมควรช่วยกันเฝ้าระวัง และร่วมมือท้วงติงหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออินเตอร์เน็ต บุคคลสาธารณะ ที่ใช้ภาษาไทยไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม"
สื่ออินเตอร์เน็ตมีการใช้ภาษาสื่อสารทางอินเตอร์เน็ต หรือการส่งข้อความ มีการตัดทอนคำ สะกดคำผิด ใช้ภาษาผิดจากความหมายเดิม รวมถึงการใช้สื่ออินเตอร์เน็ตค้นคว้าข้อมูล ทำให้ภาษาเขียนบกพร่อง เช่น คำศัพท์ การสะกดคำ การเขียนผิดไวยากรณ์ เมื่อเด็กวัยรุ่นใช้เป็นประจำทุกวัน ก็ติดเป็นนิสัย นำมาใช้เขียนในการบ้านหรือในรายงาน
“เป็นการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้อง จึงควรหาวิธีควบคุมการใช้ภาษาไทยในสื่ออินเตอร์เน็ต และจัดทำพจนานุกรมออนไลน์ให้เด็กและเยาวชนสืบค้นความหมายของคำและสำนวนภาษาไทยได้อย่างกว้างขวาง เพื่อส่งเสริมให้วัยรุ่นรู้จักใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และเหมาะสมตามกาลเทศะ เพราะเด็กจะนิยมใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่าเปิดหนังสือ”
ส่วนการอ่าน ฟัง พูด เขียน ภาษาไทยของเด็กในสังกัด สพฐ. พบว่า การใช้ภาษาไทยของเด็กเทียบได้กับผู้ป่วยขั้นโคม่า หรือแย่มากๆ และการแก้ปัญหาเด็กอ่อนภาษาไทย ที่หลายหน่วยงานกำลังพยายามทำอยู่ก็ยังไม่ตรงจุด เหมือนแก้ปัญหาแบบจับแพะชนแกะ โดยไม่ดูธรรมชาติของเด็กว่าต้องการเรียนรู้แบบไหน วิธีการอย่างไร ทั้งที่จริงๆ แล้วควรเริ่มฝึกให้เด็กอยากเรียนรู้และใฝ่รู้ โดยไม่มีการบังคับเด็ก ซึ่งอาจทำด้วยการให้เด็กอ่านหนังสือนอกเวลา หรือหนังสือเสริมบทเรียน เช่น นิทาน เรื่องสั้น บทความ ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก โดยมีครูคอยให้คำชี้แนะ
ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.l3nr.org/posts/411156
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น